สแกน QR Code นี้ดูได้
สแกน QR Code นี้ดูได้
สแกน QR Code นี้ดูได้
ความสำเร็จในการป้องกันและกำจัดแก๊สไข่เน่า (หรือ ไฮโดรเจน ซัลไฟด์)
ที่เป็นพิษต่อกุ้ง และกำจัดฟอสฟอรัส ที่พื้นบ่อ ไม่ให้มีมากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด แพลงก์ตอนพืช ที่มากเกินไปในบ่อเลี้ยงกุ้ง
วิธีการกำจัดแก๊สพิษ ไฮโดรเจน ซัลไฟด์ ในบ่อเลี้ยงกุ้ง และกำจัดฟอสฟอรัสที่พื้นบ่อ ไม่ให้เป็นปุ๋ยของแพลงก์ตอนพืช เพราะจะเกิดของเสียมากเกินไป ในบ่อเลี้ยงกุ้ง
สแกน QR Code นี้ดูได้
ทำไม? การรักษาคุณภาพพื้นบ่อให้ดี
จึงมีความสำคัญในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่น (Intensive)
สแกน QR Code นี้ดูได้
การใช้จุลินทรีย์
โปรไบโอติก (Probiotics)
ที่ดี ที่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
สแกน QR Code นี้ดูได้
ที่เติมลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง มีคุณประโยชน์ในการส่งเสริม และสร้างสภาวะ แวดล้อมที่เหมาะสมในบ่อเลี้ยงกุ้ง ดังนี้
- ช่วยกำจัด สารอินทรีย์ ไนโตรเจน และ คาร์บอน ที่มีมากเกินไป ในน้ำ และพื้นบ่อ
- ช่วยลด แอมโมเนีย
- ช่วย ควบคุม พีเอช ( pH ) ในน้ำ ไม่ให้ พีเอช สูงเกินไป ป้องกันการตกตะกอนของแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำ จึงช่วยให้กุ้งนำเอาแร่ธาตุในน้ำ ไปใช้ในการเติบโต การสร้างเปลือกกุ้ง
- ช่วย ควบคุม แพลงก์ตอนพืช จึงเป็นการช่วยควบคุม พีเอช(pH) ของน้ำ ในรอบวัน
- ช่วย กำจัดแก๊สพิษ เช่น กำจัดแก๊สไข่เน่า หรือ ไฮโดรเจน ซัลไฟด์ ที่เกิดตามพื้นบ่อ ถ้าหากไม่มีการป้องกัน หรือ กำจัดแก๊สพิษชนิดนี้ แก๊สไข่เน่าจะละลายน้ำได้ดี และ สลายตัวช้า แก๊สไข่เน่าจะทำให้กุ้งอ่อนแอ ทำให้ภูมิต้านทาน โรคของกุ้งลดลง กุ้งจึงมีโอกาสติดเชื้อก่อโรค ที่ฉวยโอกาสก่อโรค (Opportunistic pathogens) ทำให้กุ้งป่วยได้
- ช่วย แข่ง และข่ม (Competitive exclusion) เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค
- จุลินทรีย์ โปรไบโอติก ที่ดีมีประโยชน์ ที่เติมลงไปในบ่อเลี้ยงกุ้ง (Probiotics farming) จะช่วยส่งเสริม และสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ในบ่อเลี้ยงกุ้ง จุลินทรีย์ โปรไบโอติก จะอยู่ร่วมกันกับ จุลินทรีย์ที่ดีมีอยู่ในน้ำ ตามธรรมชาติ (Microbiota) เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กุ้งที่เลี้ยงแบบหนาแน่น
ท่านสามารถป้องกัน และแก้ไขปัญหา (Problems) เพื่อพัฒนาอาชีพการเลี้ยงกุ้งให้ ก้าวหน้าท่านจึงเป็นผู้ชนะ สิ่งที่ต้องตระหนัก เมื่อปล่อยกุ้งลงเลี้ยงในบ่อ ผ่านไป 30 วัน ถึง 60 วัน แล้วคือ
โรคกุ้งตายเดือน (EMS/AHPND) / โรคขี้ขาวในกุ้ง (White feces syndrome) / โรคตัวแดงดวงขาว (White spot disease)
ทำอย่างไร ?
ในการพัฒนาปรับปรุง การเตรียมบ่อให้ดี
เพื่อกำจัด เม็ดสปอร์ของเชื้อปรสิต อีเอชพี ที่เป็นสาเหตุร่วมของโรคขี้ขาวในกุ้ง เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ที่ก่อโรคกุ้ง
กำจัดเชื้อไวรัส ที่ก่อโรคกุ้ง เพื่อกำจัดแก๊สพิษที่พื้นบ่อ กำจัดสารอินทรีย์ที่หมักหมม สะสมอยู่ตามพื้นบ่อ
กำจัดเมือกไบโอฟิล์ม ของเชื้อแบคทีเรีย บนผิวแผ่นพีอี ที่ปูพื้นและรอบบ่อ
เตรียมบ่อ ดี ช่วยคุณภาพพื้นบ่อ ดี ช่วยคุณภาพน้ำ ดี
เพื่อเสริมสร้าง ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ( BIOSECURITY) สิ่งที่ต้องตระหนัก เมื่อปล่อยกุ้งลงเลี้ยงในบ่อ
ผ่านไป 30 วัน ถึง 60 วัน แล้ว คือ ปัญหาที่กุ้งติดเชื้อแบคทีเรีย ก่อโรค (Primary infection/Primary pathogen)
จึงทำให้เกิดปัญหา โรคกุ้งตายเดือน (EMS/AHPND) และ ปัญหาที่กุ้งติดเชื้อ เม็ดสปอร์ของเชื้อปรสิต ไมโครสปอริเดีย อีเอชพี
Microsporidian Enterocytozoon hepatopenaei (EHP)ที่เป็นสาเหตุร่วม ของโรคขี้ขาวในกุ้ง และ มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
แทรกซ้อน (Co-infection) จึงทำให้เกิดปัญหา โรคขี้ขาวในกุ้ง ( White Feces Syndrome )
ท่านตระหนักดี ในแนวทาง การแก้ไขปัญหา (Solution)
สแกน QR Code นี้ดูได้